TMO ที่ มช.


           ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 8 (TMO8) เมื่อปี พ.ศ. 2554 และเป็นเจ้าภาพร่วม ในการจัด การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 56 (IMO 56) เมื่อปี พ.ศ.2558 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการ และความพร้อมในการจัดงานระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

           และในปี พ.ศ. 2567 นี้ เนื่องในโอกาสที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 21 โดยผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครูสังเกตการณ์จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ คณาจารย์มหาวิทยาลัยผู้คุมทีม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจาก สอวน. และ สสวท. จำนวนกว่า 300 คน จาก 16 ศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่สำคัญที่ผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการ และความเป็นเชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ ที่พร้อมเปิดรับผู้มาเยือน

           ในครั้งนี้ การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ขึ้นในระหว่างวันที่ 9 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา การกระจายการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ระดับสากล สู่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องตาม Sustainable Development Goals (SDGs) และแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของประเทศ

ตราสัญลักษณ์การแข่งขัน


ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน TMO ครั้งที่ 21 ได้รับการคัดเลือกจากการจัดการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ และพัฒนาแบบเพิ่มเติม โดยผู้ชนะเลิศ ได้แก่ นายเดชาธร สมใจ นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ซึ่งมีความหมายของตราสัญลักษณ์ ดังนี้

1.“ช้าง” เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเลือกใช้สีม่วงดอกรัก ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสีม่วง รูปแบบใหม่ ตามอัตลักษณ์องค์กร (corporate identity) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.ปลายงวงช้างเป็นรูป “ดอกสัก” ซึ่งเป็นต้นไม้เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ และอยู่ในตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการลดรูปให้เป็นรูปเรขาคณิต (polygon) ประกอบด้วย สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และวงกลม โดยมี “สีม่วงดอกรัก”และ “สีเหลืองทองกวาว” ซึ่งเป็นสีประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.ตราสัญลักษณ์ระบุข้อความ TMO 21 โดย TMO มีสีเทา แสดงให้เห็นถึงความน่าค้นหาของคณิตศาสตร์ และ 21 มีสีเหลืองทองกวาวไล่สี แสดงให้เห็นถึงการจัดงานโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ศูนย์ สอวน. ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • โรงเรียนเตรียมทหาร
  • โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • โรงเรียนศรีอยุธยา
  • โรงเรียนโยธินบูรณะ

ติดต่อเรา

Follow Us